ปั๊มลมชนิดลูกสูบ (Piston Air Compressor) #2

ปั๊มลม

หลังจากที่เราได้รู้จักกันไปบ้างแล้วว่า ปั๊มลม (Air Compressor) ที่ใช้งานกันทั่วไปมีกี่ชนิด อะไรบ้าง และแตกต่างกันอย่างไร สำหรับใครที่ยังไม่ได้อ่าน สามารถเข้าไปอ่านกันได้ที่ ปั๊มลม (Air Compressor) แต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร? วันนี้แอดมินจะพาไปรู้จักกับ ปั๊มลมชนิดลูกสูบ (Piston Air Compressor หรือ Reciprocating Air Compressor)

หลักการทำงานของปั๊มลมแบบลูกสูบ

ปั๊มลมชนิดลูกสูบ (Piston Air Compressor) เป็นปั๊มลมที่มีหลักการทำงานโดยจะใช้มอเตอร์ไฟฟ้าเป็นต้นกำลังในการขับเคลื่อนลูกสูบให้เกิดการเคลื่อนที่ขึ้นลง ทำให้เกิดแรงดูดและอัดอากาศภายในกระบอกสูบขึ้น ซึ่งปั๊มลมจะมีวาล์วทางด้านดูดและวาล์วทางออกทำงานสัมพันธ์กัน เมื่อลูกสูบมีการเคลื่อนตัวในแนวดิ่งทำให้เกิดการดูดและอัดภายในกระบอกสูบ โดยที่ช่วงการดูดอากาศ ลิ้นช่องดูดเข้าจะทำการเปิดออกเพื่อดึงอากาศเข้ามาภายในกระบอกสูบ แต่ลิ้นทางด้านอัดอากาศออกจะปิดสนิท จากนั้นเมื่อถึงช่วงการอัดอากาศ ตัวลูกสูบจะดันอากาศให้ออกทางลมออก ทำให้ลิ้นทางลมออกเปิด ส่วนทางลิ้นดูดอากาศก็จะปิดลง เมื่อลูกสูบของปั้มลมขยับขึ้นลงจึงเกิดการดูดและอัดอากาศขึ้น

การสร้างแรงดันของปั๊มจะขึ้นอยู่กับจำนวน (Stage) ในการทำงานของปั๊ม เช่น ปั๊มลมที่มีระบบการทำงานแบบ (Single Stage) จะสามารถสร้างแรงดันได้ 8-10 บาร์ และการทำงานแบบ (Two Stage) ปั๊มลมจะสร้างแรงดันได้ 12-15 บาร์ เป็นต้น แต่โดยปกติแล้วปั๊มลมแบบลูกสูบจะสามารถสร้างแรงดันได้ตั้งแต่ 1 บาร์ ทำให้เป็นจุดเด่นอีกหนึ่งจุดของปั๊มประเภทนี้ที่สามารถสร้างแรงดันได้ตั้งแรงดันต่ำ ปานกลาง ไปจนถึงทำแรงดันสูงได้ ปั๊มลมแบบลูกสูบมีทั้งแบบที่ใช้สายพานและแบบโรตารี่


ตัวอย่างหลักการทำงานของปั๊มลมประเภทลูกสูบ

ปั๊มลมลูกสูบแบบใช้สายพาน

จะมีลักษณะที่หัวปั๊มแยกออกจากกันกับมอเตอร์ โดยหลักการทำงานจะใช้สายพานและมอเตอร์ในการขับ มีให้เลือกใช้งานทั้งแบบ Single Stage และ Two Stage ที่สามารถทำแรงดันได้สูงถึง 15 บาร์ ปั๊มลมลูกสูบแบบใช้สายพานที่ทำแรงดันแบบ Single Stage จะมีทั้งรุ่นที่ใช้น้ำมันหล่อลื่นและแบบไม่ใช้น้ำมัน มีราคาค่อนข้างสูง แต่ปั๊มมีความแข็งแรงทนทาน สามารถใช้กับงานหนักได้ มีขนาดใหญ่กว่าปั๊มลมแบบโรตารี่ เช่น ปั๊มลม SWAN เป็นปั๊มลมที่มีความจุถังมากถึง 400 ลิตรให้เลือกใช้งาน มีหลากหลายรุ่นตั้งแต่ขนาดถังความจุ 36 – 400 ลิตร มีลักษณะเป็นปั๊มลมแบบถังนอน

ปั๊มลม SWAN ที่ชื่อรุ่นลงท้ายด้วย U ปั๊มจะผลิตลมออกมาเมื่อแรงดันถึงจุดที่เรากำหนดไว้ unloader valve จะสั่งปิดลมเข้าถังและกดลิ้นวาล์วให้เปิดมอเตอร์ให้ทำงานเบาลง รุ่น U จึงเป็นรุ่นที่ระบายความร้อนได้ดีและเหมาะกับการใช้งานตลอดทั้งวัน ส่วนชื่อรุ่นที่ลงท้ายด้วย P จะเป็นรุ่นที่มี Pressure switch เมื่อปั๊มทำแรงดันได้ถึงจุดที่กำหนดมอเตอร์จะตัดการทำงานทันทีและจะทำงานอัตโนมัติเมื่อแรงดันภายในถังต่ำกว่าค่าที่เรากำหนด

ปั๊มลมลูกสูบแบบโรตารี่

ปั๊มลมลูกสูบแบบโรตารี่ เป็นปั๊มลมแบบที่ไม่ใช้น้ำมันหล่อลื่น มีระบบการทำงานแบบ Single Stage ซึ่งสามารถสร้างแรงดันได้ 8 – 10 บาร์ หัวปั๊มจะติดกับตัวมอเตอร์ ส่วนใหญ่แล้วปั๊มประเภทนี้จะมีขนาดตัวปั๊มที่ค่อนข้างกะทัดรัด น้ำหนักเบา เคลื่อนย้ายสะดวก ราคาไม่แพง แต่ก็มีข้อเสียที่มีเสียงค่อนข้างดังขณะปั๊มทำงาน อายุการใช้งานสั้นกว่าปั๊มลมแบบใช้สายพาน แต่สามารถทำลมได้เร็วกว่า เช่น ปั๊มลม PUMA ที่นิยมใช้งานกันอย่างแพร่หลายไม่ว่าจะในภาคอุตสาหกรรมต่างๆที่ต้องใช้ลมในกระบวนการผลิตหรือกลุ่มคนทั่วไป ตัวปั๊มวัสดุเป็นเหล็กหล่อ มีความแข็งแรงทนทาน มีขนาดเล็ก  ไม่เปลืองพื้นที่ มีความคล่องตัวสูง ระบายความร้อนได้ดี ปั๊มลม PUMA มีทั้งแบบสายพานและแบบโรตารี่ มีให้เลือกใช้งานหลายขนาด

ข้อดีของปั๊มลมชนิดลูกสูบ

– มีให้เลือกใช้งานทั้งแบบใช้สายพานและแบบโรตารี่

– มีให้เลือกใช้งานตั้งแต่ขนาด 1/2 แรงม้าไปจนถึง 15 แรงม้า

– มีความทนทาน

– ทำลมได้เร็วสำหรับปั๊มลมลูกสูบแบบโรตารี่

– ค่าซ่อมบำรุงไม่สูง

– เหมาะกับการใช้งาน เช่น ใช้ในอู่ซ่อมรถ งานเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น

ข้อเสียของปั๊มลมชนิดลูกสูบ

– ลมที่ได้อาจมีน้ำมันปะปนออกมา

– ปั๊มลมลูกสูบมีโครงสร้างคล้ายกับเครื่องยนต์ หากเป็นปั๊มลมที่ไม่ใช้น้ำมันในการขับอาจทำให้เกิดความร้อนสูงได้ง่ายและสึกหรอเร็วกว่าแบบที่ใช้น้ำมัน

– มีเสียงค่อนข้างดังขณะปั๊มทำงานสำหรับปั๊มลมแบบโรตารี่

 

สนใจสินค้าหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

บทความอื่นๆ