Name plate motor บอกอะไรเราบ้าง

์Name Plate Motor

Name plate motor (เนมเพลตมอเตอร์ไฟฟ้า)บอกอะไรเราบ้าง

          โดยทั่วไปมอเตอร์ไฟฟ้าทุกตัวจะมีแผ่นป้ายหรือเนมเพลต (Name plate motor) ซึ่งติดมากับตัวมอเตอร์ ในเนมเพลตจะแสดงถึงรายละเอียดข้อมูลต่างๆของมอเตอร์ตัวนั้นๆ เช่น ขนาดกำลังไฟฟ้าขาออก (kW Output), ความเร็วรอบ (Speed), แรงดันไฟฟ้า (Volt) หากไม่มีเนมเพลตของมอเตอร์จะทำให้เกิดความยุ่งยากในการบำรุงรักษาหรือแม้กระทั่งการหามอเตอร์ตัวใหม่มาทดแทนมอเตอร์ตัวเดิม เนื่องจากการมองด้วยตาปล่าวไม่สามารถทราบข้อมูลต่างๆที่แน่ชัดของมอเตอร์ได้เลย และวันนี้เราจะมาอธิบายรายละเอียดของข้อมูลแต่ละตัวใน Name plate motor ไปดูกันเลย

มอเตอร์ยี่ห้อต่างๆ จะมีรูปแบบของเนมเพลตที่แตกต่างกันออกไป แต่จะมีรายละเอียดที่คล้ายคลึงกัน โดยในที่นี้จะอ้างอิง Name Plate Motor ยี่ห้อ MITSUBISHI ELECTRIC

Name plate motor

  1. ประเภทของมอเตอร์ (Motor type) มอเตอร์เหนี่ยวนำ (Induction Motor) แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ตามลักษณะการจ่ายไฟจากแหล่งจ่าย คือ มอเตอร์เหนี่ยวนำเฟสเดียว (Single Phase Motor) มอเตอร์เหนี่ยวนำสามเฟส (Three Phase Motor)
  1. กำลัง (Power Output) ค่ากำลังขาออกของมอเตอร์ที่เพลาแสดงหน่วยเป็น 2 แบบ คือ แรงม้า (Horse power หรือ HP) กิโลวัตต์ (kilowatt หรือ kW)
  1. ค่าทางไฟฟ้า (Electrical Characteristic) ค่าแรงดันไฟฟ้า มีหน่วยเป็น โวลต์ (Volt หรือ V) ค่าความถี่ไฟฟ้า มีหน่วยเป็น เฮิร์ตซ์ (Hertz หรือ Hz) ค่าปริมาณกระแสไฟฟ้าที่มอเตอร์ใช้ มีหน่วยเป็น แอมแปร์ (Ampere หรือ A)
  1. ขั้ว (Pole) มอเตอร์มาตรฐานทั่วไปจะเป็นแบบ 2pole 4 pole 6pole ดังนั้น จำนวน pole จะมีผลต่อความเร็วรอบมอเตอร์ คือเป็นตัวที่กำหนดความเร็วรอบ ความเร็วของมอเตอร์ หรือที่นำไปใช้งาน ซึ่งจะมีค่าไม่ตายตัว ขึ้นอยู่กับการออกแบบ

5. ความเร็วรอบของมอเตอร์ (Speed) จะบอกการหมุนของรอบต่อนาที (r/min) โดยมีชื่อย่อเป็น rpm หรือด้วยสัญญาลักษณ์ min-1 ย่อมาจาก Revolutions per minute

6. ระดับการป้องกัน ( Ingress Protection : IP ) เป็นการบอกระดับการป้องกันฝุ่นและของเหลว

Name plate motor IP

7. ขนาดเฟรม (Frame Number) ตัวเลข คือ ความสูงจากพื้นถึงกึ่งกลางเพลา (หน่วยเป็น มม.) ตัวอักษร คือความยาว (S M L)

8. พิกัดการทำงาน (Rating) การกำหนดลักษณะการทำงานของมอเตอร์ที่มีความสัมพันธ์กับช่วงเวลนี้จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ หน้าที่การทำงานต้องสัมพันธ์กับเวลา จึงต้องมีมาตรฐานมารองรับ เพื่อความถูกต้อง ซึ่งตามมาตรฐาน VDE O530 หรือตามมาตรฐาน IEC 34-1 ได้แบ่งลักษณะการทำงานหลัก ๆ ไว้ ดังต่อไปนี้

  1. ชนิดS1: การทำงานอย่างต่อเนื่อง (Continuous Running Duty)
  2. ชนิดS2: การทำงานช่วงสั้น (Short-time Duty)
  3. ชนิดS3: การทำงานเป็นคาบไม่คิดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิจากการสตาร์ท
  4. ชนิดS4: การทำงานลักษณะเป็นคาบที่คิดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิจากการสตาร์ท
  5. ชนิดS5: การทำงานลักษณะเป็นคาบที่คิดการเพิ่มของอุณหภูมิจากการสตาร์ทและเบรกทางไฟฟ้า
  6. ชนิดS6:  การทำงานต่อเนื่องลักษณะเป็นคาบเวลา (Continuous Operation Periodic Duty)
  7. ชนิดS7: การทำงานต่อเนื่องลักษณะเป็นคาบที่คิดการสตาร์ทและการเบรกทางไฟฟ้า
  8. ชนิดS8: การทำงานต่อเนื่องลักษณะเป็นคาบที่คิดความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลงโหลดต่อความเร็ว
  9. ชนิดS9:  การทำงานต่อเนื่องลักษณะโหลดไม่เป็นคาบและความเร็วเปลี่ยนแปลง

9. ชนิดของฉนวน (Insulation Class) บอกถึงความทนทานความร้อนของมอเตอร์ เช่น คลาส B ทนได้ถึง 130 องศาเซลเซียส

10. ค่าประสิทธิภาพของมอเตอร์ (Efficiency) คือ อัตราส่วนระหว่างกำลังขาออก (Output Power) และกำลังไฟฟ้าขาเข้า (Input Power)

กำลังขาออก : กำลังงานที่มอเตอร์สามารถทำได้

กำลังไฟฟ้าขาเข้า : พลังงานไฟฟ้าที่มอเตอร์ต้องการใช้เพื่อทำให้เกิดกำลังงานนั้นๆ

ค่าประสิทธิภาพของมอเตอร์สามารถคำนวณได้ตามสมการดังนี้

ประสิทธิภาพ (%) = กำลังไฟฟ้า(output) / กำลังไฟฟ้า(input) x 100

ระดับประสิทธิภาพ (Efficiency Class) บอกถึงบอกถึงระดับประสิทธิภาพตามมาตรฐาน( IEC, IE1 มอเตอร์มาตรฐาน), (IE2 มอเตอร์ประสิทธิภาพสูง)

บริษัท เมคคานิก้า จำกัด นำเข้าและจำหน่ายมอเตอร์ โดยมีมอเตอร์ให้เลือกหลากหลายยี่ห้อ เช่น GAST, MITSUBISHI, CPG, BROOK CROMPTON

อีกทั้งยังมี ปั๊มน้ำ, ปั๊มสารเคมี, เครื่องเติมอากาศ และเครื่องจักรอุตสาหกรรมต่างๆอีกหลากหลาย หากคุณลูกค้าท่านใดต้องการคำแนะนำหรืออยากได้ข้อมูลเพิ่มเติม ทีมวิศวกรฝ่ายขายของบริษัท เมคคานิก้า ยินดีให้คำแนะนำ และสามารถนัดหมายเพื่อเข้าประเมินหน้างานได้เลยค่ะ

สอบถามรายละเอียดสินค้าเพิ่มเติมติดต่อได้ที่ บริษัท เมคคานิก้า จำกัด

TEL 02-011-1000 , Hotline 088-008-2305

รับชมสินค้าอุตสาหกรรมอื่นๆอีกมากมายที่ YOUTUBE : MECHANIKA

 

 

สนใจสินค้าหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

บทความอื่นๆ